เมนู

ช้อป

เข้าสู่ระบบ

บัญชีของฉัน

ตะกร้า

ตะกร้าสินค้า

สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA)

สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA)

สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) เกิดจากการรวมตัวร่วมขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ ของผู้ประกอบการและผู้บริโภค

มีการก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  • เข้าถึงสินค้าอินทรีย์ที่เชื่อมั่นได้ ​(โดยมีการตรวจสอบย้อนกลับด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน)
  • ซื้อสินค้าตรงในราคาที่เป็นธรรมและได้สนับสนุนเกษตรกรอินทรีย์
  • ความหลากหลายและต่อเนื่องในปริมาณและคุณภาพของสินค้าอินทรีย์
  • เรียนรู้และเข้าใจวิถีอินทรีย์ ผ่านกิจกรรมการมีส่วนร่วม เช่น ท่องเที่ยววิถีอินทรีย์
  • การสื่อสารการตลาด สร้างจุดขาย ประสานความร่วมมือกับภาคี
  • ผลักดันนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร

ชื่อ: สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย

กลุ่ม:

ปีที่ก่อตั้ง: 2563

จำนวนสมาชิก:

ที่ตั้ง:

ชุมชนเกษตรทฤษฎีใหม่หัวใจอินทรีย์

ชุมชนเกษตรทฤษฎีใหม่หัวใจอินทรีย์

ชุมชนเกษตรทฤษฎีใหม่หัวใจอินทรีย์ ได้เริ่มตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อสร้างระบบอาหารอินทรีย์ที่ปลอดภัยต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

ปัจจุบันชุมชนเกษตรทฤษฎีใหม่หัวใจอินทรีย์ปลูกพืชผักอินทรีย์กว่า 20 สายพันธุ์ โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี เมล็ดพันธุ์คลุกยา หรือเมล็ดพันธุ์ GMO สิ่งหนึ่งที่พิเศษมากเกี่ยวกับชุมชนเกษตรทฤษฎีใหม่หัวใจอินทรีย์คือการที่สมาชิกทุกคนต้องมีการออมทรัพย์เนื่องจากกลุ่มได้เห็นความสำคัญของความรู้ทางการเงินและความมั่นคงทางเงินต่อสมาชิกทุกคน สมาชิกกลุ่มสามารถออมไม่เกิน 100 และไม่เกิน 10 หุ้น การออมทรัพย์นี้ได้ช่วยให้ทางกลุ่มมีสวัสดิการให้กับสมาชิก เช่นเมื่อมีการเจ็บป่วย การออมทรัพย์นี้เป็นหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้สมาชิกของกลุ่มปลดหนี้สินได้ เเละที่สำคัญการออมทรัพย์กลุ่มช่วยหยุดวัฏจักรหนี้สินซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของการเกษตรไทย สมาชิกที่อายุน้อยที่สุดของกลุ่มนี้มีอายุเพียง 19 ปี เท่านั้น! 

 

ชื่อ: ชุมชนเกษตรทฤษฎีใหม่หัวใจอินทรีย์

กลุ่ม:

ปีที่ก่อตั้ง: 2558

จำนวนสมาชิก: 14

ที่ตั้ง: นครปฐม

กลุ่มเกษตรอินทรีร่มเย็นราชบุรี

กลุ่มเกษตรอินทรีร่มเย็นราชบุรี

กลุ่มเกษตรอินทรีย์ร่มเย็นราชบุรีเป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรในราชบุรี เพื่อจัดตั้งเกณฑ์พีจีเอสของกลุ่ม ภายใต้การดำเนินงานหนึ่งในเครือข่ายของสามพรานโมเดลโดยข้อตกลงพีจีเอส

เกษตรกรในกลุ่มเป็นผู้มีหัวใจในการทำเกษตรอินทรีย์ ผลิตสินค้าอินทรีย์ และส่งต่อสุขภาพดีๆเพื่อผู้บริโภค ทางกลุ่มคำนึงถึงสุขภาพของทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค สิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ สมาชิกกลุ่มจึงมีการร่วมกันแบ่งพื้นที่ปลูกป่าในพื้นที่ของตนเอง และไม่ใช้สารเคมีทุกชนิดในกระบวนการผลิต  ปัจจุบันทางกลุ่มมีความหลากหลายในการรวมตัวกันของผู้ผลิตด้าน ผัก ผลไม้ ข้าว เห็ด และปศุสัตว์ 

กลุ่มเกษตรอินทรีย์ร่มเย็นราชบุรีมีข้อตกลงพีจีเอส ทั้งสิ้น 25 ข้อ โดยหลักๆคือ 

  • การไม่ใช้ และนำสารเคมี ใดๆเข้าพื้นที่ รวมถึงยาปฎิชีวนะ สารเร่ง ที่เป็นอันตรายต่อตัวเกษตรกรเอง สัตว์ และผู้บริโภค ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็นอินทรีย์มากว่า 60% 
  • การสร้างระบบนิเวศหมุนเวียนภายในพื้นที่ คือการปลูกป่า และบำรุงดิน 
  • การแปรรูปต้องคำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภค ไม่ใส่สารสังเคราะห์ปรุงแต่ง ควบคุมปริมาณรสชาติตามหลักโภชนาการ และใช้วัตถุดิบที่เป็นอินทรีย์มากกว่า 70%

นอกจากนี้ทางกลุ่มยังมีสมาชิกที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยน 1 ราย เเละ กลุ่มเป้าหมายอีก 2 ราย

ชื่อ: กลุ่มเกษตรอินทรีร่มเย็นราชบุรี

กลุ่ม: สามพรานโมเดล

ปีที่ก่อตั้ง: 2559

จำนวนสมาชิก: 23 ฟาร์ม

ที่ตั้ง: ราชบุรี

กลุ่มวิสาหกิจร่วมใจโนนค้อทุ่ง

กลุ่มวิสาหกิจร่วมใจโนนค้อทุ่ง

กลุ่มวิสาหกิจร่วมใจโนนค้อทุ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546

กลุ่มวิสาหกิจร่วมใจโนนค้อทุ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546 แต่เป็นการรวมตัวกันทำปุ๋ยหมักชีวภาพหลังจากได้รับการอบรมจากสวน “ส่างฝัน” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้สมาชิกในกลุ่มลดต้นทุนในเรื่องปุ๋ยสามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่ม และในขณะเดียวกันก็ก่อตั้งโรงสีข้าวกล้องชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพชาวนาในกลุ่ม ในเรื่องการจัดการผลผลิต การแปรรูป โดยการก่อตั้งกลุ่ม และก่อสร้างโรงเรือนโดยอาศัยกำลังกายและกำลังใจของสมาชิกในกลุ่ม เป็นหลัก โดยในช่วงแรก มีเงินทุนสมาชิกเพียง 1,100 บาท

และต่อมาในปี 2549 ได้เข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มข้าวคุณธรรม ได้ขอรับรองมาตรฐานกับสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) และได้เริ่มทำการตลาดมากขึ้น ในปี 2554 สำนักงานพาณิชย์จังหวัดอำนาจเจริญได้ชักชวนก่อตั้ง “กลุ่มข้าวสัจธรรมอำนาจเจริญ” จนในปี 2558 ทางกลุ่มได้แยกตัวจากกลุ่มข้าวสัจธรรมอำนาจเจริญ เเละเริ่มดำเนินการเรียนการตลาดและการรับรองขอแปรรูป ในปี 2559 ทางกลุ่มได้ปรึกษาหารือกันแล้วว่ากลุ่มควรจะรับรองผลผลิตด้วยตนเอง เพื่อง่ายในการทำการตลาดและบริหารจัดการเรื่องอื่นๆ โดยนอกจากกลุ่มของโนนค้อทุ่งเอง ยังคงมีกลุ่มของบ้านปลาค้าว ต.ปลาค้าว และกลุ่มชุมชนโนนหนามแท่ง ต.นาเวียง ที่เข้าร่วมกับกลุ่ม ทำให้กลุ่มเกิดความแข็งแกร่งมากขึ้น 

ชื่อ: กลุ่มวิสาหกิจร่วมใจโนนค้อทุ่ง

กลุ่ม: กลุ่มวิสาหกิจร่วมใจโนนค้อทุ่ง

ปีที่ก่อตั้ง: 2546

จำนวนสมาชิก: สมาชิก 250 คน

ที่ตั้ง: อำนาจเจริญ

คุณประครองและคุณขจร

คุณประครองและคุณขจร

คู่สามีภรรยาที่อยู่เบื้องหลังน้ำผึ้งดิบและมะนาวไร้เมล็ดของเรา

หลังจากทำงานในเมืองมาหลายสิบปีคุณประครองได้ย้ายมาอยู่ที่ภูชีฟ้าเเละเปิดโฮมสเตย์เล็กๆกับคุณขจร ก่อนเกษียณคุณขจรทำงานเป็นเจ้าหน้าที่กรมอุทยานเเละต่อมาได้เลื่อนเป็นผู้พิทักษ์ป่าในภูชีฟ้า ระหว่างการทำงานพิทักษ์ป่ากว่า 8 ปี คุณขจรได้ปลูกป่า ทำฝายฉะลอนำ้ ดับไฟป่า ดูเเลพื้นที่เพื่อไม่ให้ใครมาล่าสัตว์ป่า รวมถึงให้ความรู้ชาวบ้านเกี่ยวกับสัตว์ป่าอนุรักษ์ ซึ่งถือว่าเป็นงานอันสำคัญต่อความเป็นอยู่ของพวกเราทุกคนจริงๆ

นำ้ผึ้งทุกขวดของคุณประครองเเละคุณจรมาจากผึ้งที่กินเกสรของดอกไม้ต่างๆนาๆในภูชีฟ้าเช่น ดอกก่อ เสี้ยวดอกขาว นางพญาเสือโคร่ง  นอกเหนือจากการเลี้ยงผึ้ง ทั้งสองปลูกมะนาวเเละดอกหน้าวัวในพื้นที่ของเขาเองอีกด้วย

 

Fun Fact

คุณขจรเป็นอดีตเจ้าหน้าที่อุทยานทำงานปกป้องวนอุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้ามามากกว่า 8 ปี!

Fun Fact

คุณขจรเป็นอดีตเจ้าหน้าที่อุทยานทำงานปกป้องวนอุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้ามามากกว่า 8 ปี!

เครือข่ายชุมชนเป็นสุขป่าละอู

เครือข่ายชุมชนเป็นสุขป่าละอู

เครือข่ายชุมชนเป็นสุข ป่าละอู เป็นกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่ตั้งอยู่ในป่าละอู จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

มีสมาชิกทั้งหมด 6 คน นำโดยคุณหลวงซึ่งเคยทำงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนและเคยเป็นอาสาสมัครอนุรักษ์ช้างมาก่อนที่จะหันมาทำการเกษตรแบบอินทรีย์ นอกจากนี้คุณหลวงยังเป็น “หมอดิน” ประจำตำบลอีกด้วย 

เครือข่ายฯเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ทำการเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจังและตั้งใจ โดยก่อนที่จะเริ่มก่อตั้งเป็นกลุ่มเกษตรอินทรีย์เเบบเต็มตัว ทางเครือข่ายฯเคยเป็นกลุ่มอาสาสมัครอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเป็นคณะกรรมการชมรมอนุรักษ์ช้างป่าห้วยสัตว์ใหญ่ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเครือข่ายเยาวชนป่าละอู เเละในปี พ.ศ. 2547 เครือข่ายฯได้ทําการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกและกลุ่มเครือข่ายร่วมกับชาวบ้านและกลุ่มต่างๆจัดตั้งเป็นเครือข่ายชุมชนเป็นสุขป่าละอู ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน ทางเครือข่ายฯมีการประชุมและวางแผนพัฒนาชุมชมโดยเน้นการใช้การเกษตรอินทรีย์เป็นเครื่องมือหลักในการทำงาน 

นอกจากนี้เครือข่ายฯเน้นให้สมาชิกทุกคนมีส่วนรวมในการวางแผนงานและดําเนินงานในพื้นที่ของตนเองไปพร้อมๆกันเเละจะเป็นตัวประสานความร่วมมือในการจัดกิจกรรมและการส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆตามที่สมาชิกต้องการ ในขณะเดียวกันทางเครือข่ายฯยังยึดมั่นในแนวคิดที่มีตั้งแต่ก่อตั้งเครือข่ายฯซึ่งก็คือ “คน ช้าง ป่า เคยพึ่งพาและผูกพัน” ดังนั้นทางเครือข่ายฯยังคงพยายามช่วยลดความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับช้างเพื่อให้ทุกชีวิตสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ณ ปัจจุบัน ทางเครือข่ายฯปลูกพืชผลอินทรีย์เช่น กะหล่ำปลี มะเขือเทศราชินี และทุเรียน (ที่อร่อยที่สุดที่เราเคยลองมา!!)

ชื่อ: เครือข่ายชุมชนเป็นสุขป่าละอู

กลุ่ม: สามพรานโมเดล

ปีที่ก่อตั้ง: 2004

จำนวนสมาชิก: 6 คน

ที่ตั้ง: ประจวบคีรีขันธ์

Fun Fact

ก่อนที่จะเริ่มก่อตั้งเป็นกลุ่มเกษตรอินทรีย์เเบบเต็มตัว ทางเครือข่ายฯเคยเป็นกลุ่มอาสาสมัครอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเป็นคณะกรรมการชมรมอนุรักษ์ช้างป่าห้วยสัตว์ใหญ่

วิสาหกิจชุมชนทรัพย์บนดิน อ.หนองบุญมาก

วิสาหกิจชุมชนทรัพย์บนดิน อ.หนองบุญมาก

มาตรฐาน EarthSafe อินทรีย์วิถีไทย มูลนิธิ รักษ์ดิน รักษ์นำ้ (EarthSafe Foundation) ความสุข ความรัก ความรู้ พร้อมเเบ่งปัน

เดิมทีคุณตามะกับยายน้อย ทำเกษตรเเบบอินทรีย์อยู่เเล้วเเต่ยังเป็นเเบบเชิงเดี่ยวอยู่ ต่อมาต่อยอดการทำเกษตรเเบบผสมผสาน วิถีพอเพียงโดยยึดหลักศาสตร์พระราชา ปฎิบัติตามหลักทฤษดีบันได 9 ขั้น ต่อมาในปี 2559  น.ส. ฐิตินันท์ โสรเนตร

ได้ก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทรัพย์บนดิน อ.หนองบุญมาก ในการต่อยอดผักพื้นบ้านเเละผลไม้ตามฤดูกาลของชุมชนสู่ผู้บริโภคโดยตรงในราคาบุติธรรม โดยยึกหลักมาตรฐาน EarthSafe อินทรีย์วิถีไทย ปฏิเสธการใช้สารเคมี 100%

ชื่อ: ทรัพย์บนดิน อินทรีย์วิถีไทย (กินอย่างมีสุข ผู้ปลูกเเบ่งปัน)

กลุ่ม: วิสาหกิจชุมชนทรัพย์บนดิน อ.หนองบุญมาก

ปีที่ก่อตั้ง: 2559

จำนวนสมาชิก: 11 คน

ที่ตั้ง: ต.หนองบุนนาก อ.หนองบุญมาก จ. นครราชสีมา

Fun Fact

ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทรัพย์บนดิน อ.หนองบุญมาก: น.ส. ฐิตินันท์ โสรเนตร ประธานเเละผู้ก่อตั้ง มูลนิธิ รักษ์ดิน รักษ์นำ้ (EarthSafe Foundation): คุณ สัณหจุฑา จิราธิวัฒน์

พีจีเอส ออแกนิค เชียงราย

พีจีเอส ออแกนิค เชียงราย

กลุ่มพีจีเอส ออแกนิคจังหวัดเชียงราย เริ่มจัดตั้ง ปี 2560 จากการรวมตัวของคนหนุ่มสาวที่ไปเรียนหนังสือและทำงานอยู่ต่างจังหวัด แต่มีความผูกพันธ์กับท้องถิ่นที่ได้เติบโตมาจึงอยากจะกลับมาพัฒนาบ้านเกิดตัวเอง

กลุ่มพีจีเอส ออแกนิคจังหวัดเชียงราย เริ่มจัดตั้ง ปี 2560 จากการรวมตัวของคนหนุ่มสาวที่ไปเรียนหนังสือและทำงานอยู่ต่างจังหวัด แต่มีความผูกพันธ์กับท้องถิ่นที่ได้เติบโตมา จึงอยากจะกลับมาพัฒนาบ้านเกิดตัวเอง 

โดยมีแรงบันดาลใจจากความต้องการที่จะพลิกฟื้นสับปะรดนางแล ซึ่งเป็นสับปะรดสายพันธุ์ดั้งเดิมที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดเชียงราย (ตามคำขวัญเก่าประจำจังหวัดเชียงราย) แต่กำลังจะสูญหายไป เนื่องจากความนิยม

ของผู้บริโภค (คนจีน) ชื่นชอบสับปะรดภูแลมากกว่า ประกอบกับการปลูกและการดูแลรักษาสับปะรดนางแลมีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่าสับปะรดภูแล ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่หันมาปลูกสับปะรดภูแลแทนสับปะรดนางแล 

จากแรงบันดาลใจที่กล่าวไปข้างต้น จึงเกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนและได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะจัดตั้งเป็น

กลุ่มเกษตรกรที่จะร่วมด้วยช่วยกันสร้างสังคมเชียงรายให้เป็นสังคมคนหัวใจอินทรีย์ตามหลักการพีจีเอส โดยระยะเริ่มต้น มีมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดเชียงรายและมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นพี่เลี้ยงที่สนับสนุนการขับเคลื่อนกลุ่มพีจีเอสออแกนิคเชียงราย เช่น องค์ความรู้ สถานที่และงบประมาณ เป็นต้น

ปัจจุบัน ปี 2564 กลุ่มพีจีเอสออแกนิคเชียงราย มีเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในภูมิลำเนาจังหวัดเชียงราย จำนวน 326 คน กระจายไปตาม 14 อำเภอ จากทั้งหมด 18  อำเภอ มีพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) จำนวน 950 ไร่ มีเครือข่ายความร่วมมือเพิ่มขึ้น อาทิ มูลนิธิสังคมสุขใจ (สามพรานโมเดล) สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย สถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นต้น ทั้งนี้ สมาชิกกลุ่มพีจีเอสออแกนิคเชียงราย มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่เราเป็นกลุ่มที่จัดตั้ง “โดยเกษตรกรที่ทำเพื่อเกษตรกรอย่างแท้จริง”

ชื่อ: พีจีเอส ออแกนิค เชียงราย

กลุ่ม: พีจีเอส ออแกนิค เชียงราย

ปีที่ก่อตั้ง: 2560

จำนวนสมาชิก: 8 กลุ่ม 326 สมาชิก

ที่ตั้ง: เชียงราย